ผ้าถุง หรือผ้าซิ่น ของชาวละว้า หรือชาวลัวะ เป็นลายทอที่มีการมัดหมี่หรือมัดก่าน ย้อมสี ทอให้เป็นผืนผ้า บ่งบอกถึงการย้ายถิ่นจากในเมืองในอดีตของบรรพบุรุษ มาอยู่ที่เมืองแม่แจ่ม จึงนำลวดลายทอลายมัดหมี่มาทอด้วย การพัฒนาจากการที่มี ลวดลายสี่แดงสลับในปัจจุบัน ทำให้มีความโดดเด่น เมื่อเปรียบเทียบกับผ้าซิ่นตาโยน หรือซิ่นลายน้ำไหลซิ่นต๋าโยนของคนเมืองแล้วจะเห็นความแตกต่าง ชาวไทยวน ยังนิยมทอซิ่นลัวะ เพื่อใช้ในการนุ่งอยู่บ้านในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นการรับเอาเทคนิคการมัดหมี่แบบลัวะมาใช้ พร้อมกับทอผ้าตามลวดลายของชาวลัวะ แต่มีการขยายหน้าฟืมให้กว้างขึ้น และเย็บผืนให้กว้างขึ้นกว่าของลัวะ ผ้าทอของชาวลัวะ มีลักษณะเด่น คือ ทอแน่น และหนา เหมาะสำหรับการนุ่งในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันอันตรายจากของมีคมได้ เพราะความหนาของผ้าช่วยป้องกันอันตรายจากของมีคมได้ นอกจากนี้ยังมีการทอด้วยลวดลายตกแต่งสวยงาม ผ้าซิ่นบางช่วงนิยมการมัดหมี่ในเส้นยืน คนไทยวนพื้นเมืองเรียกลวดลายนี้ว่า ลายมีดซุย ซึ่งมีลักษณะคล้ายมีดซุย ส่วนชาวลัวะมองเห็นเป็นรูปนก ซึ่งซิ่นของชาวลัวะนั้นมักจะแคบและสั้น และลักษณะของผ้าซิ่นชาวลัวะนั้นก็ถ่ายทอดมายังคนไทยวนหรือคนเมืองพื้นราบด้วย จะเลียนแบบการทอลายมีดซุย หากช่างทอไม่มีความชำนาญก็จะไม่สามารถทำให้เหมือนได้ แต่ก็มีการปรับด้วยขนาดกี่ กว้างกว่า ทำให้ชาวไทยวนที่เลียนการทอของชาวลัวะมาแต่มีการปรับขนาดความยาวและความกว้างให้มากขึ้นตามความนิยมของแต่ละคน แม้ว่าคนไทยวนจะเป็นคนทอแต่ก็ยังคงเรียกซิ่นแบบนั้นว่า ซิ่นลัวะ อยู่นั่นเอง นอกจากนี้จะนิยมทอผ้าพื้นสำหรับการตัดเสื้อ (โดยเฉพาะสีขาว) ยังมีการทอผ้าห่ม ผ้าในพิธีกรรม ถุงย่าม ปลอกแขน ปลอกแข้ง และผ้ามัดเอวสำหรับผู้ชายรวมอยู่ด้วย
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
.
เลขที่ : บ้านกอกน้อย ต. ปางหินฝน อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ 50270
นางกรุ ศักดิ์สืบสกุล
06-3675-5929
เจษฏา สุภาศรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา : 2566 Advance Track