ถงของชาวปกาเกอะญอ ถงของชาวปกาเกอะญอ หรือชาวกะเหรี่ยง จะมีลวดลายเอกลักษณ์ที่เฉพาะ โดยปกติที่ชาวปกาเกอะญอใช้กันนั้น มักจะเป็นถุงที่มีขาถุงยาว และทอผ้าและถักทอลวดลายเล็ก ๆ ประดับที่ถุง โดยจะสีสันและลักษณะลวดลายคล้ายกับเสื้อของผู้ชายที่สวม และมักจะมีสีแดงเป็นหลัก อาจจะมีสีสันต่าง ๆ บ้าง เช่น เขียว ฟ้า เป็นต้น ปัจจุบัน ถงของชาวปกาเกอะญอ พัฒนาไปมาก ทั้งขนาด การตกแต่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ -ขนาด มีความหลากหลาย ทั้งใบเล็ก ใบใหญ่ (ใบขนาดที่เรียกว่าถงเป๋อ) ซึ่งมีความจำเพาะในการใช้งาน ถุงบางใบ สามารถใส่เด็กไว้ในถุง ขณะที่ผู้เป็นแม่ทำงานไปด้วยได้ และนำย่ามใบใหญ่มาจัดทำในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม -การตกแต่ง มีหลากหลายแบบ 1) ย่ามตกแต่งลวดลายด้วยการทอในผืนผ้า แล้วตัดเย็บเป็นถุง มักจะทอเป็นลายพื้นฐานที่ตัวของถุงย่ามหรือบริเวณปากถุง ลวดลายทอก็อาจจะมีทั้งรูปคน สัตว์ ที่พบเห็นได้ในทั่วไปในชุมชน 2) ย่ามหางยาว เป็นย่ามที่ลักษณะเชิงยาวออกจากตัวถง ปกติถงจะไม่มีเศษฝ้ายยาว หากไม่ตัดก็มักจะฟั่นเป็นเส้นเล็ก ๆ บริเวณเชิงขาถงเท่านั้น ทำให้เส้นฝ้ายที่ทิ้งยาวลงมานั้น ถูกเรียกว่า “หาง” กลายเป็นถงย่ามหางยาว โดยแรกเริ่มจากแม่สมศรี ปรีชาอุดมการณ์ ที่มีการทำถุงย่ามหางยาวขึ้น และได้รับความนิยม จนเกิดการทำย่ามหางยาวนี้ขึ้นในหลายพื้นที่ 3) ยามลายปัก เป็นการเพิ่มมูลค่าจากถงผ้าสีพื้นธรรมดา สู่การปักเป็นลวดลายด้วยเส้นฝ้ายสีต่าง ๆ ด้วยชาวปกาเกอะญอมีความชำนาญในการปักผ้ามาแต่เดิม สังเกตจากเสื้อผู้หญิงของชาวปกาเกอะญอ ที่จะมีการปักด้วยเส้นด้าย หรือการปักลูกเดือยเป็นพื้นฐาน มาสู่การปักบนถุงย่ามที่มีความทันสมัยและแปลกตา เป็นจุดเด่นจุดแข็งของชาวปกาเกอะญอ 4) การปักเดินเส้นตะเข็ม เป็นการตกแต่งเช่นเดียวกับชาวไทยวนหรือชาวลัวะ เพื่อความแข็งแรง และสวยงามเพิ่มขึ้น
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
.
เลขที่ : บ้านแม่มิงค์ ต. ช่างเคิ่ง อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ 50270
สมศรี ปรีชาอุดมการณ์
099-894-3709
เจษฏา สุภาศรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา : 2566 Advance Track