วิหารพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ และ พระธาตุจอมทอง บนดอยจอมทอง จ.พะเยา เป็นสถาปัตยกรรมสองแห่งที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองพะเยา และมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งด้านประวัติศาสตร์ เรื่องเล่าและตำนานของ เมืองพะเยาในอดีต ดังปรากฏใน “ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับใบลาน” ความถึงความสำคัญของพื้นที่ตั้ง และความสัมพันธ์ของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของ “ดอยจอมทอง” กับ “พระเจ้าตนหลวง” สูง 32ศอก โดยมีมูลเหตุตำนานทางความเชื่อทางพุทธศาสนาต่อการสร้าง ดังที่ปรากฏใน “ตำนานพระเจ้าตนหลวง ทุ่งเอี้ยง เมืองพะยาว” โดยพระธรรมปาละเป็นผู้รจนาไว้ (พระธรรมวิมลโมลี, “ตำนานพระเจ้าตนหลวง ทุ่งเอี้ยง จังหวัดพะเยา” พระธาตุจอมทองยังมีบทบาทเป็นพระธาตุประจำเมืองที่สำคัญ ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ ช่วงหลัง พ.ศ.1839 ครั้งพญางำเมืองเวนข้าอุปัฏฐากมินละขุ(ชาวลัวะ) แด่พระธาตุจอมทอง จากบันทึกเอกสารโบราณที่เป็นคัมภีร์ใบลาน “ตำนานเมืองพะเยา” ฉบับวัดศรีโคมคำจังหวัดพะเยา ฉบับปริวรรต พระธาตุจอมทองยังมีนัยความหมายถึงการเป็นเขาพระสุเมรุที่ประทับของพระอินทร์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามหลักจักรวาลวิทยาทางพุทธศาสนา โดยสามารถตั้งข้อสังเกตได้จากเนื้อความของเอกสารตำนานเมืองพะเยา ฉบับสำนักหอสมุดแห่งชาติ ความว่า “...ท้าวทั้ง ๒ (พญาลาวเงินแลพญาจอมธรรม) ก็เอาอินทะราชาไปเลงแลดูสถานที่อันจักตั้งเวียงนั้นดังอั้น ก็มาหันยังไชยะมงคล ๓ ประการแล อัน ๑ ก็หันยังแม่น้ำอัน//ไหลแต่หนทักขิณ ไปหนอุตตะระ อัน ๑ ก็หันยันสระหนองใหญ่มีพายวัน ตก ก็เป็นเชยยะภูมิอัน ๑ แล อัน ๑ ก็หันเสนาพระตั้งไว้ ๒ อัน คือว่าพระธาตุ พระบาทพระพุทธรูปเจ้าองค์ใหญ่ อันจักได้สร้างแลไหว้อุปปะถากรักษาสักการะปู่ชา ก็เป็นเชยยะภูมม์ อัน (๑) แล...” (อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว(ปริวรรต),ตำนานเมืองพะเยา นอกจากนี้ตำนานพระเจ้าตนหลวงก็ยังมีความสอดคล้องกับตำนานพระเจ้าเลียบโลกที่เป้นตำนานที่พบโดยมากในวัฒนธรรมล้านนา
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the .
เลขที่ : ชุมชนวัดศรีโคมคำ ต. บ้านต๋อม อ. เมืองพะเยา จ. พะเยา 56000
นาย วรินทร์ รวมสำราญ
วรินทร์ รวมสำราญ : มหาวิทยาลัยพะเยา :