ชาวบ้านได้เล่าขานกันสืบต่อกันมาเกี่ยวกับบ่อเกลือพันปีว่า บ่อเกลือพันปีเป็นบ่อเกลือธรรมชาติที่ปรากฏมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล โดยถือกำเนิดจากการที่ชาวเมืองเชียงของประเทศลาว มีงานประเพณีจุดบั้งไฟประจำปี เชื่อว่า บั้งไฟไปตกที่ใดจะเป็นบ่อเกลือที่นั่น ในการทำบั้งไฟใช้ต้นโพธิ์ทำ ครั้งหนึ่งได้มีการจัดบั้งไฟซึ่งได้ตกลงมากลางลำน้ำเฟี้ยด้านที่พุ่งลงเป็นด้านปลายลง ปักลึกลงไปในดินวัดได้ ประมาณ 12 ตาพระองค์เกิดอัศจรรย์ขึ้นน้ำที่อยู่ในโพรงต้นโพธิ์มีรสเค็มไหลออกมาตลอดทั้งปีไม่มีแห้ง ชาวบ้านจึงนำมาประกอบอาหารและตั้งชื่อบ่อน้ำเค็มนี้ว่า “บ่อโพธิ์” บ่อเกลือพันปี ถูกตั้งชื่อขึ้นในสมัยพ่อขุนบางกลาท่าวเจ้าเมืองบางยาง (นครไทยในปัจจุบัน) ได้ยกทัพไปตีเมืองขอมเพื่อขยายอาณาเขตให้กว้างขวางขึ้น เมื่อพาไพร่พลเดินทางมาถึงบ้านบ่อโพธิ์ จึงหยุดพักและตั้งทัพที่บ้านบ่อใต้ที่ผาประตูเมือง ทหารออกมาหาเสบียงอาหารตามหมู่บ้านพบบ่อน้ำที่ใสสะอาดที่ใช้ต้นโพธิ์ทำเป็นวงบ่อ เมื่อตักขึ้นมาชิมพบว่ามีรสเค็ม จึงตัดกระบอกไม้ไผ่นำไปกราบทูลพ่อขุนบางกลางท่าวได้ชิมน้ำ และได้สั่งให้ทหารต้มน้ำในกระทะที่วางบนกันเซา (หิน 3 ก้อนทำเป็นเตา) ปรากฏว่าน้ำนั้นตกผลึกเป็นเมล็ดเกลือสีขาว ใช้ประกอบอาหารให้มีรสเค็มได้ใช้เป็นเสบียงอาหารไปรบกับขอมที่กรุงสุโขทัย เผยแพร่ให้ผู้คนทั่วไปได้รู้และตั้งชื่อว่าบ่อเกลือพันปี เมือยกทัพกลับมีทหารกลุ่มหนึ่งตั้งรกรากและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้ทำเกลือขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่ใช้ดำรงชีวิตประจำวัน และกลายเป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านบ่อโพธิ์
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ
.
เลขที่ : หมู่ 1 ตำบลบ่อโพธิ์ ต. บ่อโพธิ์ อ. นครไทย จ. พิษณุโลก 65120
มหาวิทยาลัยนเรศวร : มหาวิทยาลัยนเรศวร : 2567 Festival