บ่อเกลือพันปีหรือบ่อเกลือสองสาวพี่น้อง บ้านนาขุมคัน ต.นครชุม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เป็นบ่อเกลือแห่งเดียวของนครชุมที่คนในหมู่บ้านร่วมกันอนุรักษ์และสืบทอดการต้มเกลือสินเธาว์แบบโบราณ จนเรียกติดปากว่า “บ่อเกลือพันปี” จากค่าบอกเล่าและฆ่าผู้แก่ในชุมชนเล่าว่าเมื่อสมัยพ่อขุนบางกลางหาว หรือขุนกังหาร หรือพ่อขุนบางกลางท่าว หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยราชธานี ได้พาไพร่พล อพยพหนีข้าศึกมาจากทางทิศเหนือ และได้มาซ่องสุมกองกำลังฝึกซ้อมอาวุธ ณ บริเวณท้ายบ้านนาเมือง ใกล้ ๆ เป็นค่ายโดยมีขุนหาญห้าวทหารเอก เป็นผู้ควบคุมการฝึกอาวุธ เมื่อทหารฝ่ายเสบียงได้ออกสำรวจพื้นที่ต่างๆ ได้พบเจอบริเวณบ่อเกลืออยู่แห่งหนึ่ง จากการสังเกตเห็นว่าเหล่าสัตว์ต่างๆ ทั้ง เสียงผา เก้ง กวาง นกเขา นกเป้า ลงมากินดินบริเวณโป่งเกลือแห่งนี้นายทหาร อรุนหาญ าว จึงได้ส่งให้สองพี่น้อง นาง กับนางใจ ไปเฝ้าสังเกตบริเวณนั้นว่ามีโป่งเกลือ สัตว์มากินดินโป่งตามคำพูดที่เล่าขานกันมาหรือไม่ เมื่อสองพี่น้องมาซุ่มดูก็พบว่ามีสัตว์ลงมากินดินโป่งจริง จึงได้นำความไปบอกแก่พ่อขุน งหาว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงสั่งให้ทหารขุดหาเป็นบ่อขนาดกว้าง และนำน้ำจากบ่อนี้ไปต้มเป็นเลือสินเธาว์เพื่อใช้ปรุงอาหาร และอีกทั้งยังใช้เป็นส่วนประกอบในการถนอมอาหาร สำหรับกองทัพและเลี้ยงไพร่พลในสมัยโบราณ บ่อเกลือนี้ถือเป็นสิ่งที่มีค่ามากในสมัยโบราณ เป็นสินค้าที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนกับข้าวของ เครื่องใช้ต่าง ๆต่อมาชาวนครชุมโดยเฉพาะชาวบ้านนาลานข้าว นาเมือง นาซอน นาขุมคัน ได้พากันมาตักเอาน้ำในบ่อเกลือดังกล่าวไปต้มใช้ประโยชน์จากเกลือสินเธาว์แห่งนี้ มีการขุดหลุมทำเตาดิน ตั้งเตาต้มเกลือเรียงรายรอบบริเวณบ่อเกลือเป็นจำนวนมาก เมื่อ ๔๐ - ๕๐ ปีที่ผ่านมามีเตาต้มเกลือประมาณ ๗๐ ๘๐ เตา โดยมีการต้มเกลือในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป การต้มเกลือนั้นต้องนอนเฝ้าค้างคืนเพื่อเติมฟืนใส่เตา ในปัจจุบันจำนวนเตาต้มเกลือลดจำนวนลงมาก โรงเรียนบ้านนามน ได้จัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชุมชนของทางโรงเรียนบ้านนาชุมคันและผู้ที่สนใจทั้งในและนอกชุมชน
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ
.
มหาวิทยาลัยนเรศวร : มหาวิทยาลัยนเรศวร : 2567 Festival