การทอธง หรือ การทำธงสำหรับใช้ในวันบุญปักธง หรือ เทศกาลปักธงชัย ของชาวนครไทยในอดีต เมื่อถึงเดือน 11 พระสงฆ์และผู้นำชุมชนจะเรียกชาวบ้านในหมู่บ้านมานัดหมายว่าจะทำธงที่บ้านใคร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบ้านของผู้ที่มีความสามารถในการทอผ้า หรือบ้านของผู้นำหมู่บ้าน แต่ในการทอชาวบ้านจะมาช่วนกันทอ โดยชาวบ้านจะนำฝ้ายที่ปลูกมารวมกันเป็นกองกลาง จากนั้นจะนำมาทอเป็นผืนธง ผู้ทอมักเป็นผู้หญิง เพราะในอดีตผู้หญิงนครไทยส่วนใหญ่สามารถทอผ้ากันได้ทุกคน ธงมีความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาว 4 เซนติเมตร ชายธงตกแต่งด้วยใบโพธิ์ที่ทำจากไม้ นำไม้ไผ่ยาว 1 ฟุต ใส่หัวท้ายของผืนธง เพื่อถ่วงให้ธงมีน้ำหนักเมื่อนำไปปักบนยอดเขาการทำธง ในอดีตเมื่อถึงเดือน 11 พระ และ ผู้นำชุมชน จะตีฆ้องบอกเรี่ยไรฝ้ายจากชาวบ้านละแวกหมู่บ้านของตน แล้วจะนัดหมายกันว่าจะทำธงที่บ้านใคร คนใดคนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบ้านของผู้ที่มีความสามารถในการทอผ้า หรือบ้านของผู้นำหมู่บ้าน แต่ในการทอชาวบ้านจะมาช่วยกันทอ เพราะในอดีตผู้หญิงนครไทยสามารถทอผ้าได้ทุกคน โดยชาวบ้านจะนำฝ้ายที่ปลูกจากบ้านของตนเองมารวมกันเป็นกองกลาง บางส่วนจะนำเส้นด้ายมา แล้วมาช่วยกันทำการทอเป็นผืนธง ซึ่งมีลำดับขั้นตอนพอสรุปได้ดังนี้ 1. หีบฝ้าย โดยการนำฝ้ายมาหีบเพื่อเอาเมล็ดออก 2. ดีดฝ้าย คือการคือการเอาฝ้ายที่หีบแล้วไปตีเป็นปุย โดยใช้กงดีฝ้าย เพื่อให้ฝ้ายขยายตัวเหมือนสำลี 3. ล้อฝ้าย คือการนำเอาฝ้ายที่ดีดแล้วไปทำการล้อให้เป็นท่อนกลมยาวด้วยไม้ล้อ 4. ปั่นด้าย นำฝ้ายที่ล้อแล้วมาทำการปั่นหรือเข็นด้วยหลาปั่นด้าย ซึ่งจะได้ด้ายที่เป็นเส้น 5. เปียด้าย เป็นการนำด้ายออกจากเมล็ดในด้วยไม้เปีย เพื่อให้ด้วยเป็นระเบียบและเป็นใจ 6. ชุบ คือการนำเอาเส้นด้ายไปทำการชุบน้ำข้าว แล้วทำการทุบให้เปียกเสมอกัน หลังจากนั้นจะนำเส้นฝ้ายไปต้มกับข้าวสารเพื่อให้เส้นด้ายมีความเหนียว เมื่อนำไปทอเป็นผืนธงจะไม่ขาดง่าย 7. คั้นและหวี เมื่อต้มแล้วจะนำเส้นด้ายมาใส่ภาชนะทำการคั้น เมื่อคั้นเสร็จจึงนำไปตากให้แห้ง จากนั่นนำไปแช่น้ำแล้วนำมาปั้นให้สะเด็ด จึงนำไปหวีโดยใช้แปรงหวีแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง 8. เสาะ เมื่อเส้นด้ายแห้งแล้วชาวบ้านจะนำมาใส่ ระวิง เพื่อทำการเสาะ (สาว) เส้นด้ายใส่กรุบุง 9. ค้นหรือขึงเครือหูก โดยการกวักฝ้ายจากกงไปใส่กวักแล้วนำไปเกี่ยวกับหลักค้น เพื่อขึงเครือหูกทำเป็นเส้นยืน 10. ปั่นหลอด คือการนำเส้นด้ายไปใส่กง แล้วแกว่างหลาดึงเส้นด้ายออกจากกงเข้าไปในหลอด เพื่อ เอาไปใช้ทำเป็นเส้นพุ่งหรือเส้นตำ 11. สืบหูกและทอเป็นผืนธง โดยผู้ที่ทำการทอจะเป็นผู้หญิงในหมู่บ้าน ธง จะมีความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เมตร บริเวณชายธงจะตกแต่งให้สวยงามด้วยใบโพธิ์ที่ทำจากไม้ แล้วนำไม้ไผ่ที่มีความยาว 1 ฟุต มาใส่หัวท้ายของผืนธง เพื่อถ่วงให้ธงมีน้ำหนักจะได้ไม่ม้วนตัวเมื่อนำไปปักบนยอดเขา วิธีการทำธงของทั้ง 3 หมู่บ้าน คือหัวร้อง บ้านในเมือง และบ้านเหนือ จะมีลักษณะและวิธีการคล้ายคลึงกัน เพียงแต่บางครั้ง จะทำการทอธงก่อนวันปักธงประมาณ 1 วัน เรียกว่า “ การทำแบบจุลกฐิน” การทอเช่นนี้จะสามารถทำได้ในลักษณะที่ชาวบ้านพากันบริจาคเส้นด้าย จึงสามารถทอได้เลย อีกทั้งผืนธงมีความยาวไม่มาก จึงทำให้สามารถทอเสร็จได้ในวันเดียว การทอธงของชาวนครไทยในอดีต นับเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความสามัคคีกันของประชาชนในหมู่บ้าน และยังแสดงถึงคุณค่าทางจิตใจและความรู้สึกของคนในชุมชน
จับต้องได้ : Tangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
.
มหาวิทยาลัยนเรศวร : มหาวิทยาลัยนเรศวร : 2567 Open call