PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : TC-65120-00016 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

การแทงหยวก
Tang-Yuak

การแทงหยวกเป็นศิลปะพื้นบ้านที่แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ของชาวนครไทย ปัจจุบันนิยมใช้ตกแต่งแลแห่นาค การแทงหยวกเริ่มจากการเลือกหยวกกล้วยที่เหมาะสม คือ กล้วยตานี เพราะมีความเหนียว เนื้อหยวกละเอียด อุปกรณ์ที่ใช้แทงหยวก จะเป็นมีดปลายแหลมที่ตีขึ้นจากเหล็กเนื้อดี และถือเป็นอุปกรณ์ศักดิ์สิทธิ์ มีการทำพิธีเคารพบูชา ก่อนแทงหยวกชาวนครไทยจะทำพิธีเข้าคายและทำน้ำมนต์ธรณีสาร เพื่อปะพรมหยวกกล้วยที่แกะสลักเป็นลวดลายแล้ว โดยเชื่อว่าน้ำมนต์จะขับไล่สิ่งไม่ดีออกไป ลวดลายที่นิยมใช้แทงหยวกประกอบแลแห่นาค มักมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ลายธรรมจักร ลายนาค ลายดอกบัว ลายดอกพิกุล เป็นต้น แต่ในปัจจุบันการแทงหยวกไม่มีการกำหนดลาย แล้วแต่ช่างจะเป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นตามจินตนาการของตนเอง จึงเกิดความแตกต่างกันของลายพึง เช่น กลุ่มบ้านหัวร้องจะนิยมลายหงส์คาบเครือ ช่างบ้านเนินเพิ่มจะนิยมลายกนก เป็นต้น ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ จะมีลวดลายเหมือนกัน คือ ลายฟันปลา ลายฟันสาม ลายน่องสิงห์ และลายเถาวัลย์ เป็นต้น



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ต. นครไทย อ. นครไทย จ. พิษณุโลก 65120

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

http://m-culture.in.th/album/196220/มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมการแทงหยวก

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

มหาวิทยาลัยนเรศวร : มหาวิทยาลัยนเรศวร : 2567 Open call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
Link ที่เกี่ยวข้อง vdo

มีผู้เข้าชมจำนวน :101 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 27/01/2025 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 29/01/2025