PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : SP-71240-00004 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

ประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ชุมชนมอญบ้านวังกะ
Floating a boat to ward off bad luck

ประวัติความเป็นมาของประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ของชุมชนมอญบ้านวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี นั้นว่ากันว่า เกิดขึ้นเมื่อครั้งพระเจ้าธรรมเจดีย์ กษัตริย์มอญขึ้นครองราชย์ปกครองอาณาจักรมอญ เมืองหงสาวดี พระองค์ทรงเห็นพระภิกษุสามเณรในเมืองมอญหงสาวดี มีความประพฤติย่อหย่อนต่อพระธรรมวินัย พระพุทธศาสนาในเมืองมอญเกิดมลทินด่างพร้อยมากมาย จึงมีพระราชประสงค์จะสังคายนาพระพุทธศาสนาในเมืองมอญเสียใหม่ เพื่อชำระหมู่พระภิกษุสงฆ์ให้มีความบริสุทธิ์ ประวัติความเป็นมาของประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ สมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ ว่ากันว่าเกิดขึ้นเมื่อครั้งพระเจ้าธรรมเจดีย์ขึ้นครองราชย์ปกครองอาณาจักรมอญ ที่เมืองหงสาวดี เดิมพระองค์เป็นพระภิกษุมีสมณศักดิ์ว่า พระมหาปิฎกธร และเป็นผู้ต้านทานอำนาจของอาณาจักรอังวะ ทรงเชี่ยวชาญในเรื่องของพระพุทธศาสนาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในวัยเยาว์พระองค์เป็นที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้และเป็นพระโอรสบุญธธรรมของพระนางเขงสอบู เมื่อพระชนมายุได้ 48 พรรษา พระองค์พร้อมลูกศิษย์ได้แอบไปช่วยพระนางเซงสอบูซึ่งบตัวเป็นเชลยจากกรุงอังวะกลับมายัง กรุงหงสาวดี แต่เพราะความละอายทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยลาสิกขา พระนางเชงสอบูจึงยกพระธิดาพระองค์หนึ่งให้อภิเษกสมรสพร้อมกับตั้งให้พระองค์เป็นรัชทายาท เนื่องจากราชวงศ์ในขณะนั้นไร้เชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้ชาย เมื่อพระนางเชงสอบูสละราชบัลลังก์ องค์รัชทายาทได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น พระเจ้าธรรมเจดีย์ ตอนแรกอำมาตไม่ยอม เพราะพระองค์ไม่มีเชื้อพระวงศ์ พระนางเชงสอบูจึงสั่งคนไปนำตอม่อสะพานมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป และนำมาต้อองไว้ในห้องบูชา ซึ่งเหล่าอำมาตจะต้องมากราบไหว้ก่อนออกราชการ ผ่านไปช่วงเวลาหนึ่งพระนางเชงสอบูก็ได้ถามเหล่าอำมาตว่า "พวกท่านไหว้พระพุทธรูปไม้นี้ทำไม" อำมาตได้ตอบว่า "ก็พระพุทธรูป จึงต้องกราบไหว้บูชา" พระนางเชงสอบูจึงได้ถามต่อว่า "แล้วพระพุทธรูปนี้ทำมาจากอะไร" "จากไม้" อำมาตตอบ "ไม้นั้นมาจากตอม่อสะพาน ที่คนจะต้องเหยียบขึ้นสะพาน ลูกบุญธรรมเราก็เหมือนกัน เรารู้ว่าเขามีปัญญามาก ชาติตระกูลเขาอาจจะต่ำต้อย แต่ถ้าเรานำมาอยู่ในถูกที่ มันจะเกิดคุณอย่างมาก" คำพูดนี้ทำให้เหล่าอำมาตแพ้ในปัญญาของพระนางเชงสอบู ต่อมาจึงได้แต่งตั้งพระองค์เป็นกษัตริย์ ชื่อพระเจ้าธรรมเจดีย์



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : หมู่บ้านวังกะ ต. หนองลู อ. สังขละบุรี จ. กาญจนบุรี 71240

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

กลุ่มมรดกมอญสร้างสรรค์ บ้านวังกะ และนักวิจัย

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

https://web.facebook.com/PMUBanWangKa

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี : 2567 Festival

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-

มีผู้เข้าชมจำนวน :72 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 30/01/2025 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 30/01/2025