แม้ปัจจุบันชาวมอญจะแต่งกายเช่นเดียวกับชาวไทยทั่วไปก็ตาม แต่ก็ยังคงมีลักษณะของการแต่งกายที่เป็นชุดประจำชาติมอญปรากฏให้เห็นอยู่บ้างตามแต่โอกาส คือ เสื้อสีขาว โสร่งหรือผ้าถุงสีแดง ความหมายโสร่ง คือ สีแดงหมายถึง สีเลือด แสดงถึงความรักชาติ ส่วนสีขาวหมายถึงศาสนา และจิตใจที่ใสสะอาด โดยผู้ชายสูงอายุจะนุ่งผ้านุ่งที่เรียกว่า "สะล่ง" หรือที่ไทยเรียกว่า "โสร่ง" ผ้าลายตาหมากรุก เป็นต้น ใส่เสื้อแล้วแต่สะดวกไม่จำกัดแบบ (ปัจจุบันมักใส่อยู่บ้านเท่านั้น) ส่วนผู้หญิงมอญจะนุ่งผ้าถุงสีแดงที่เรียกว่า "กานิน" หรือ "นิน" ลายดอกบนพื้นแดงมีเชิงผ้าถุงนั้นจะมีการตัดเย็บแบบพิเศษ ต่างกับผ้าถุงของหญิงไทย คือจะมีการเย็บตีเกร็ดหลังคล้ายกับตีเกร็ดกระโปรงหรือผ้าถุงสำเร็จ และใช้แถบผ้าฝ้ายสีดำ มีความกว้างประมาณ 3 นิ้ว เย็บต่อที่ขอบเอวผ้าถุง เพราะเมื่อเวลาสวมใส่ผ้าถุงจะเข้ารูปสะโพกพอดี ส่วนเสื้อมีลักษณะเป็นเสื้อสีขาวหรือสีอื่นๆแขนยาว คอกลมผ่าหน้าผูกเชือก ชายเสื้อก่อนข้างยาวปิดสะ โพกเพื่อให้แตกต่างจากเสื้อผู้หญิงพม่าที่มีลักษณะชายเสื้อสั้นแบบเอวลอย แต่เวลาไปวัดหรือมีงานสำคัญจะใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่อีกทีหนึ่ง และนิยมไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวยต่ำก่อนไปข้างหลัง ปัจจุบันนอกจากผ้าถุงสีแดงแล้วชาวมอญยังนิยมนุ่งผ้าถุงสีอื่นๆด้วย นอกจากนี้ขังมีเสื้อที่เขียนข้อความด้วยภาษามอญ และลวดลายเป็นเรื่องราวเกี่ยวตำนาน ประวัดิศาสตร์ และสัญลักษณ์รูปหงส์ เสื้อลักษณะนี้ใช้สัญลักษณ์ประจำกลุ่มและเสื้อวันชาติ ชุดประจำชาติขังสามารถใช้ใน โอกาสอื่น ๆ อีก เช่น เทศกาลงานบุญ วันสำคัญทางศาสนา งานแต่งงาน รวมทั้งสวมใส่ไปทำงานและอยู่ในที่บ้านด้วย ชาวมอญเชื่อว่าการแต่งกายด้วยชุดประจำชาติมอญนั้นเป็นการแสดงถึงความรักชาติ และแยกตัวออกจากความเป็นพม่า “ผ้าสไบ” นับเป็นอัตลักษณ์สำคัญของเครื่องแต่งกายชาวมอญอีกประเภทหนึ่ง โดยใช้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย สำหรับผู้ชาย ผ้าสไบเรียกได้ว่าเป็นผ้าสารพัดประโยชน์เทียบเท่ากับผ้าขาวม้าของคนไทย แต่มิได้ใช้ประโยชน์แบบผ้าขาวม้าและจะไม่ใช้ผลัดอาบน้ำเป็นอันขาด เพราะสไบจะถูกนำมาใช้ในวาระโอกาสสูงและใช้ในพิธีกรรมสำคัญ อย่างใช้โพกหัว ใช้หนุนนอน ใช้พาดไหล่ เมื่อประกอบพิธีกรรมโดยพาดไหล่ซ้าย พาดปล่อยชายผ้าทั้งสองข้างทิ้งไปด้านหลังยามไปงานรื่นเริง หรือพาดเฉลียงบ่าเมื่อเข้าวัดหรือร่วมงานพิธีการ และเมื่อจะใช้เป็นผ้าปูรองกราบก็จะปล่อยชายจากไหล่ลงข้างหนึ่ง โดยคนมอญเรียกผ้านี้ว่า “หญาดอะบัว”
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
.
เลขที่ : หมู่บ้านวังกะ ต. หนองลู อ. สังขละบุรี จ. กาญจนบุรี 71240
กลุ่มมรดกมอญสร้างสรรค์ บ้านวังกะ และนักวิจัย
https://web.facebook.com/PMUBanWangKa
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี : 2567 Festival