วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหารเป็นวัดหลวงชั้นโท เดิมเรียกกันอย่างพื้นชาวบ้านว่า "วัดเจ๊สัวหง" บ้าง "วัดเจ้าสัวหง" บ้าง ต่อมาคำว่า "เจ๊สัวหรือเจ้าสัว" มีผู้นิยมเรียกกันเป็น "เจ้าขรัว" ไป วัดนี้ก็ถูกเรียกเปลี่ยนไปว่า "วัดเจ้าขรัวหง" เมื่อพิจารณาคำเรียกหรือนามวัดพื้นเดิมมีประเด็นอยู่ ๒ ประการ คือ “เจ๊สัวหรือเจ้าสัวหรือเจ้าขรัว” ประการหนึ่ง และ "หง" ประการหนึ่ง เจ๊สัวหรือเจ้าสัวหรือเจ้าขรัวก็ดี หมายถึง "คนมั่งมี" หรือ "เศรษฐีจีน" ส่วน "หง" สันนิษฐานว่าเป็นชื่อของคนมั่งมีหรือเศรษฐีจีน ต่อมาเมื่อพิสูจน์ตามประวัติ ความเป็นมาของวัด มีหลักฐานว่า จีนผู้มั่งมีหรือเศรษฐีจีนชื่อนายหงเป็นผู้สร้างมาดั้งเดิม ด้วยเหตุนี้ วัดนี้เมื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดราษฎร์และอยู่ท้องที่ชนบท และสันนิษฐานว่า คงเรียกกันตามพื้นเพของชาวบ้านโดยมุ่งเอาชื่อและฐานะของผู้สร้างเป็นสำคัญ วัดนี้จึงมีนามแต่ดั้งเดิมว่า "วัดเจ๊สัวหง" หรือ "วัดเจ้าสัวหง" หรือ "วัดเจ้าขรัวหง" ตามแต่จะนิยมเรียกกันในยุคนั้นสมัยนั้น จดหมายเหตุในรัชกาลที่ ๔ กล่าวไว้ในทำนองเช่นเดียวกันว่า "วัดหงส์รัตนารามนี้ พื้นที่วัดเดิมเป็นของโบราณมีมานานสำหรับเมืองธนบุรี คำคนแก่เก่าๆ เป็นอันมาก เรียกว่า วัดเจ้าขรัวหง ว่ากันว่า จีนเจ๊สัวมั่งมีบ้านอยู่กะดีจีนสร้างขึ้นไว้แต่ในครั้งโน้น จีนที่มั่งมี คนเรียกว่า เจ้าขรัว"
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้น
.
เลขที่ : วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ต. วัดอรุณ อ. เขตบางกอกใหญ่ จ. กรุงเทพมหานคร 10600
ดวงตา พนามวัง
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี/ชุมชนวัดหงส์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี : 2567 Festival