ครูเลื่อน สุนทรวาทิน เป็นชาวมอญ เป็นอาจารย์บ้านสมเด็จ ครูเลื่อนเป็นผู้นำเข้าเพลงมอญมาในไทย เก่งในด้านดนตรีไทยแต่เป็นผู้เรียบเรียงพลงมอญ คุณพ่อเป็น จางวาง (ตำแหน่งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่) เป็นนักดนตรีในวังสมัยรัชกาลที่ 4 คุณยายเลื่อนคุ้นชินการเครื่องดนตรี เพลงมอญเดิมทีเป็นเพลงรำวงที่ไม่มีเนื้อหาชัดเจน ครูเลื่อนจึงนำเอาเรียบเรียงใหม่ ดนตรีมอญ เน้นไปทางตะโพน ปี่ ฆ้องวงมอญ เพลงมอญใช้ในโอกาสรื่นเริง งานศพ เพลงงานศพไม่ค่อยมีเนื้อร้อง เป็นท่ารำมอญ12ภาษา12ท่า ดนตรีมอญเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่4 ในปัจจุบันชาวบ้านยังร้องเพลงมอญกันทุกบ้านเปรียบเสมือนเพลงรำวง ความเชื่อ:พิธีเชิญธงตะขาบ พิธียกหลวงปู่ คนแถวนี้เชื่อว่าหากไม่ร้องเพลงนี้ พิธีจะไม่สำเร็จจะมีแต่อุปสรรค เชื่อการร้องเพลงทำให้มีแรงหึกเหิม เพลงมอญแต่ละสถานที่ไม่เหมือนกัน เนื้อหาภายในเพลงส้มปิ่น : เกี้ยวพาราสี เนื้อเพลงเป็นภาษามอญ มีท่ารำ มาจากชาวบ้าน แต่ในบริเวณวัดมอญคุณย่าแดงและลูกสาวช่วยกันแกะท่า ท่ารำแต่ละท่ามีความหมายในเชิงจีบกัน ย่าแดง มอญรุ่น 4 ชื่อเพลงตั้งกันไม่มีความหมายแอบแฝง การแต่งกายในการรำ : แต่งกายแบบมอญ สไบของที่นี้จะใช้คล้องคอ แต่ถ้าไปวัด จะใช้สไบห่มคนมอญส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใกล้วัด เพราะคนมอญ เคร่งกับวัฒนธรรมประเพณีและคนมอญศาสนา : นับถือศาสนาพุทธแต่ต่างจากคนพุทธคือนับถือผีด้วย
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ศิลปะการแสดง : PA : Performing Arts .
เลขที่ : ชุมชนมอญวัดประดิษฐ์ฐาราม ถนนอิสรภาพ15 ต. หิรัญรูจี อ. เขตธนบุรี จ. กรุงเทพมหานคร 10600
กิตติ เชี่ยวชาญ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา : 2567 Festival