ชาวบางคล้าเชื่อว่า พื้นที่บริเวณปากน้ำโจ้โล้อยู่ในเขตเทศบาลตำบลบางคล้าแห่งนี้ เป็นส่วนหนี่งของประวัติศาสตร์ไทยในการกู้ชาติ บ้านเมือง ชุมชนดั้งเดิมอันเป็นบรรพบุรุษที่นี้ ต้องมีส่วนเข้าร่วมขบวนกู้ชาติกู้แผ่นดิน โดยในปี พ.ศ. 2530 สมัยที่นายชัยโรจน์ ประภาวัต อดีตนายอำเภอบางคล้า และนายวิสูตร ศรีสุนทร อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบางคล้า ได้ร่วมกันคิดกับประชาชนชาวบางคล้า ในเขตเทศบาลตำบลบางคล้า และคณะกรรมการชุดค้นหาประวัติศาสตร์บางคล้าในเชิงประวัติศาสตร์ได้ค้นคว้าแหล่งความรู้เฉพาะจากหอสมุดแห่งชาติพบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในพื้นที่ตั้งของอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงควรจะดำเนินการสร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน เนื่องมาจากพื้นที่บริเวณปากน้ำโจ้โล้ เคยเป็นสมรภูมิสู้รบระหว่างไทยกับพม่า เมื่อครั้งใกล้จะเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่มที่ 2 หน้าที่ 293 - 294 และพระองค์ได้ใช้บริเวณรวบรวมพลเดินทัพเดินผ่านท่าทองหลางอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบางคล้า จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้จึงเป็นส่วนหนี่งของการกู้ชาติบ้านเมือง ของชุมชนดั้งเดิมที่เป็น ชาวจีนที่อพยพมาอยู่บนแผ่นดินไทย ได้มีส่วนร่วมระหว่างประชาชนชาวไทยและชาวจีน ในการกู้แผ่นดิน ดังนั้นชาวอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงร่วมกันจัดสร้างศาลอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชขึ้น พ.ศ. 2530 ณ บริเวณทางเข้าตลาดอำเภอบางคล้า (สวนสาธารณะหลังโรงเรียนกงลิบซือง้วน) เมื่อ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2530 และแล้วเสร็จเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2531 รวมระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี 6 เดือน 19 วัน และได้อัญเชิญพระรูปขึ้นตั้งบนฐานเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2531 กรมศิลปากรได้ออกแบบพระรูปทรงม้าในพระอิริยาบถทรงเดินทัพผ่านไปตำบลท่าทองหลาง (ชื่อเดิม ท่าทองกลอย ในขณะนั้น) อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และในวันที่ 28 ธันวาคม ทุกปี หน่วยงานราชการ ภาคเอกชนและประชาชน ได้ร่วมพิธีวันปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และการถวายเครื่องบวงสรวงบูชา เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อประเทศไทย ในการกอบกู้เอกราชชนชาติไทย
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณสถาน : AS : Archeological Site โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
อนุสาวรีย์แห่งชาติ
.
เลขที่ : ถนนหลวงฤทธิ์ ต. บางคล้า อ. บางคล้า จ. ฉะเชิงเทรา 24110
นายศิริชัย เผ่าบรรจง
0-3854-1027
นายสมศักดิ์ ทองแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ : 2567 Festival