บ้านต้นแหนน้อย อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่มีชาวไทขึน หรือไทเขินที่มีภูมิลำเนาจากเมืองเชียงตุงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อหาทำเลถิ่นฐานเป็นที่ทำกิน โดยเดินทางด้วยเท้าและเกวียนบรรทุกสิ่งของทั้งเส้นทางน้ำ ทางบก และเส้นทางค้าขายจากเมืองเชียงตุงผ่านเมืองสาด เมืองฝาง แล้วผ่านมาทางใต้ของเมืองเชียงใหม่ จนถึงบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำขาน ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับทำการเกษตรกรรม จึงได้ตัดสินใจตั้งรกรากถิ่นฐานในพื้นที่บริเวณดังกล่าว บริเวณที่ชาวไทขึนอพยพมาตั้งถิ่นฐานเป็นป่าสักและมีต้นไม้แหนขนาดใหญ่ จึงถือเอาต้นไม้แหนใหญ่เป็นชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านต้นแหนหลวง” โดยชาวไทขึนชุมชนบ้านต้นแหนหลวงได้อพยพมาอยู่รวมกันเป็นระหว่างเครือญาติเดียวกัน ต่อมาเมื่อประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงต้องมีการขยายพื้นที่อยู่อาศัย ตลอดจนพื้นที่ทำกินออกไปจนถึงอีกฟากหนึ่งของลำน้ำขาน ซึ่งบริเวณนี้ชาวบ้านได้ตั้งชื่อว่า “บ้านต้นแหนน้อย” ในปัจจุบัน สำหรับลักษณะการตั้งบ้านเรือนนั้นมีลักษณะเกาะกลุ่มกันตามหมู่เครือญาติตามริมแม่น้ำ และถนนภายในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่บ้านเรือนของชาวไทขึนบ้านต้นแหนน้อยมักจะมีต้นไม้ และสวนผักสวนครัวล้อมรอบ รวมถึงบ่อน้ำหลายบ่อที่ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนขุดไว้ใช้ในฤดูแล้ง และเริ่มมีการสร้างรั้วรอบขอบชิดกั้นอาณาบริเวณบ้านแต่ละหลัง แม้ว่าบ้านเรือนรอบข้างจะเป็นบ้านของเครือญาติกันก็ตาม ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากพลวัตของสังคมและวิถีชีวิต แต่ละครัวเรือนต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ส่งผลให้ความสัมพันธ์เครือญาติที่เคยแน่นแฟ้นในอดีตเริ่มห่างเหิน แต่ยังคงสร้างบ้านกระจายตามเส้นทางสัญจรของหมู่บ้านดั้งเดิม
จับต้องได้ : Tangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน
.
เลขที่ : ต้นแหนน้อย ต. ท่าวังพร้าว อ. สันป่าตอง จ. เชียงใหม่ 50120
หมู่ที่7 บ้านต้นแหนน้อย ต.ท่าวังพร้าว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2567 Open call