เทศกาลสำคัญของกลุ่มวัฒนธรรมไทยซิกข์ The festivals of the Thai-Sikh cultural group (พิธีการเล่นดนตรีสวรรค์ (Kirtan) / พิธีกรรมสำคัญของศาสนาซิกข์ (The rituals of Sikhism) / เทศกาลรำลึกศาสดา Celebrating Vaisakh) พิธีการเล่นดนตรีสวรรค์ (Kirtan) พิธีการเล่นดนตรีสวรรค์ (Kirtan) พิธีกรรมนี้เป็นแบบอย่างหนึ่งของการแสดงออกซึ่งความเคารพในพระผู้เป็นเจ้า ชาวไทยซิกข์นิยมสวดมนต์พร้อมกับมีดนตรีบรรเลงประกอบ และถือกันว่าเป็นดนตรีสวรรค์ที่จะช่วยให้ผู้สวด ได้มีจิตแนบแน่นกับพระผู้เป็นเจ้าได้รวดเร็วและดีขึ้น เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงมีลักษณะเหมือนหีบสี่เหลี่ยม ซึ่งอาจเรียกว่า "หีบเพลง" พิธีการโพกศีรษะ (Turban หรือ Dastar) ชาวซิกข์มีลักษณะการแต่งกายแตกต่างจากชนกลุ่มอื่นในอินเดีย ดูจากการโพกผ้าบนศีรษะ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการแต่งกาย ได้ก่อกำเนิดมาโดยศาสดาคุรุนานัก ผ้าโพกศีรษะเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของนักบุญและนักปราชญ์ทั้งหลาย ผ้าโพกศีรษะเรียกว่า "ดัสตาร์" (Dastar) ชาวซิกข์ในเมืองไทยส่วนมากนิยมสีขาวและสีฟ้าสดที่เรียกว่า "ฟ้าอมน้ำเงิน" ในหมู่ชาวซิกข์ การโพกผ้าไม่ได้มีความหมายเป็นเพียงแค่ประเพณีในการแต่งกายเท่านั้น แต่เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความสืบเนื่องทางศาสนา เช่น ถ้าผู้นำของครอบครัวเสียชีวิต บุตรคนโตจะได้รับการโพกศีรษะต่อหน้าชุมชนนั้นๆ เพื่อประกาศว่าเขาจะได้เป็นผู้สืบทอดแทนบิดาต่อไป พิธีกรรมครัวทาน (Free Kitchen) พิธีกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติทางศาสนาที่ชาวซิกข์เรียกว่า "ปังกัต" (Pangat) หรือ "ลังการ์" (Langar) ซึ่งหมายถึงครัวทานหรือครัวสาธารณะที่เปิดให้คนทั่วไปได้รับประทานอาหารร่วมกัน ไม่ว่าจะมีวรรณะใด เพศใด หรือชาติใดก็ตาม ทุกคนย่อมได้รับการปฏิบัติที่เหมือนและเท่าเทียมกัน ประเพณีทางศาสนานี้เริ่มมาตั้งแต่สมัยของคุรุนานักที่เป็นปฐมศาสนา และทำสืบต่อกันมาในสมัยของศาสดาคุรุอังคัต ศาสดาคุรุอมรทาสจนกระทั่งถึงปัจจุบัน พิธีกรรมสำคัญของศาสนาซิกข์ พิธีกรรมในศาสนาซิกข์จะไม่แบ่งแยกเพศ ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงหรือเพศที่สาม สามารถสวดมนต์ภาวนาประกอบพิธีกรรมได้อย่างเสรี การประกอบศาสนพิธีของชาวซิกข์จะเริ่มด้วยการขับร้องบทสวดเป็นทำนองเพลงโดยใช้เครื่องดนตรีเสริมในโอกาสพิเศษหรือในวันสำคัญทางศาสนา โดยส่วนใหญ่ศาสนพิธีกรรมที่สำคัญของชาวซิกข์มักจะเกี่ยวโยงกับการเกิด การตั้งชื่อบุตร การรับน้ำอมฤต (การบรรพชา) พิธีสมรส และพิธีศพ ตลอดถึงการชุมนุมเจริญธรรมและสวดมนต์เจริญภาวนา อ่านพระมหาคัมภีร์ "ครันถะสาหิพ" พิธีกรรมสำคัญทั้งหลาย ชาวไทยซิกข์ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมรับน้ำอมฤตมากที่สุด อย่างไรก็ตาม จะไม่มีพิธีรีตองพิเศษ (วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, 2560) โดยทั่วไปแล้วการประกอบพิธีของศาสนาซิกข์นั้นทุกพิธีถือว่าสำคัญไม่ต่างกัน เช่น พิธีปาหุล พิธีปาหุล คือ พิธีล้างบาป เป็นพิธีกรรมสำคัญที่ชาวซิกข์จะต้องเข้าร่วมพิธี ผู้ที่ทำพิธีล้างบาปแล้ว ผู้ชาย จะได้นามว่า "สิงห์" หรือ "ซิงห์" ต่อท้ายชื่อเหมือนกันหมดทุกคน เพราะถือว่าได้ผ่านความเป็นสมบัติของพระเจ้าเองแล้ว เรียกว่า "ขาลสาแห่งวาหิคุรุ" หลังจากเสร็จพิธีแล้ว ผู้เข้าร่วมพิธีจะต้องรับเอา "ก" ทั้ง 5 ประการ
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
.
เลขที่ : ต. ในเมือง อ. เมืองอุบลราชธานี จ. อุบลราชธานี 34000
ประภาพร ศศิประภา
praphaphon.s@ubu.ac.th
ผศ.ดร.สุวภัทร ศรีจองแสง : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : 2567 Open call