ระบบไตเฮือน เป็นเสมือนระบบการปกครองของชุมชนไทลื้อ คำว่า “ไตเฮือน” หมายถึง การอยู่ร่วมกันของชาวไทลื้อที่สัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องผีและสายเครือญาติที่สืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษ แม้จะตั้งถิ่นฐานคนละพื้นที่ที่ก็จะมีการปกครองโดยใช้ระบบไตเฮือนเหมือนกัน ไตเฮือนจะสืบเชื้อสายหรือมีการสืบผีที่มีลักษณะความเป็นอยู่เป็นกลุ่มก้อนของคนที่เป็นเหมือนญาติกัน สืบสายกันมาตามประวัติศาสตร์นับตั้งแต่อดีตเมื่อครั้งอาศัยอยู่ในสิบสองปันนา ไม่มีการระบุเป็นลายลักษณ์อักษรมีเพียงการเล่าสืบต่อกันมา การตั้งชื่อไตเฮือนของชุมชนไทลื้อในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันบ้างแต่ไม่มากนัก โดยชุมชนศรีดอนชัยทั้งสี่หมู่บ้านมีไตเฮือนทั้งหมด 5 ไตเฮือน คือ ไตเฮือนน้ำห้วย ไตเฮือนเก๊าขาม ไตเฮือนนาย ไตเฮือนกลาง และไตเฮือนก้างเถิ่น หรือ ไตเฮือนน้ำเถื่อน (เอกสารอ.วิชุลดา กับ อ.ณัฏฐิรา เรียกชื่อไม่ตรงกัน) ระบบไตเฮือนของชุมชนศรีดอนชัย ยังสัมพันธ์กับการจัดการที่ตั้งบ้านเรือนและหน้าที่ในพิธีกรรมของชุมชน โดยจะแบ่งที่ตั้งบ้านเรือนเป็นแต่ละไตเฮือน ส่วนไตเฮือนเก๊าขามและไตเฮือนนายจะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมที่ศาลเจ้าบ่อเท่านั้น นอกจากนี้แต่ละไตเฮือนจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลคนในสายตระกูลของตนเอง และเมื่อผู้หญิงในชุมชนศรีดอนชัยแต่งงานจะต้องย้ายไตเฮือนไปอยู่ไตเฮือนสามี ปัจจุบันระบบไตเฮือนจะถูกนำมาใช้เมื่อมีการทำพิธีบูชาเจ้าบ่อพญาคำ และใช้ในกิจกรรมเก็บเงินฌาปณกิจกลุ่มไตเฮือนเดียวกัน
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน
.
เลขที่ : ชุมชนหมู่ 7-12-14-15 ต. ศรีดอนชัย อ. เชียงของ จ. เชียงราย 57140
นางแสงเดือน วงศ์ชัย
สถาบันศิลปวัฒนธรรมและอารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โทรศัพท์: 0-5391-7067 อีเมล:mekong-museum@mfu.ac.th
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : 2567 Open call