ผ้าห่อคัมภีร์ไทลื้อ สืบเนื่องมาจากประเพณี “การสร้างธรรม” ของชาวไทลื้อที่สืบทอดกันมาแต่ดั้งเดิม ซึ่งถือได้ว่าเป็นอานิสงส์มาก ผ้าห่อคัมภีร์ของชาวไทลื้อมี 2 ลักษณะ คือ (1) ผ้าผืนสี่เหลี่ยมทอด้วยฝ้าย เป็นผ้าพื้นที่ขาวธรรมดาหรือผ้าทอลายต่างๆ อาจใช้ผ้าเช็ดหรือผ้าพาดบ่า มาทำเป็นผ้าห่อคัมภีร์ก็ได้ โดยเย็บต่อกับผ้าขาวบางให้มีขนาดกว้างพอเหมาะกับการห่อหุ้มใบลาย (2) ผ้าที่มีไม้ไผ่สอดสลับกับผ้าฝ้ายหลากสี ทอด้วยเทคนิคเกาะล้วง โดยสลับเส้นฝ้ายกับตอกไม้ไผ่สอดคั่นกันจนเป็นผืน บางผืนใช้วิธีถักเป็นลวดลายผูกไม้ไผ่เข้ากับผืนผ้าและใช้ก้านลานแทนตอกไม้ไผ่ด้วย ผ้าห่อคัมภีร์มักจะมีการขลิบริมผ้าโดยรอบด้วยผ้าสีแดงหรือสีอื่นๆก็ได้ และมักจะมีเส้นเชือกสำหรับมัดห่อคัมภีร์ร้อยติดดอยู่ด้วย
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
.
เลขที่ : หมู่ที่ 7 ต. ศรีดอนชัย อ. เชียงของ จ. เชียงราย 57140
นางแสงเดือน วงศ์ชัย
สถาบันศิลปวัฒนธรรมและอารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โทรศัพท์: 0-5391-7067 อีเมล:mekong-museum@mfu.ac.th
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : 2567 Open call