พิธีเลี้ยงถวายเจ้าบ่อ เป็นพิธีกรรมเพื่อให้เจ้าจอม เจ้าบ่อมาปกปักรักษา และคุ้มครองดูแลลูกหลานไทลื้อให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยจะประกอบพิธีกรรมในช่วงเวลาเช้าที่บ้านของผู้ประกอบพิธีกรรม เรียกว่า “พ่อหมอใหญ่” ซึ่งอยู่ในกลุ่มตระกูลไตเฮือนเก๊าขาม และ “พ่อหมอน้อยหรือพ่อหมอข้าวจ้ำ” จากกลุ่มตระกูลไตเฮือนนาย และช่วงค่ำ เริ่ม 16.00 น. ณ ศาลเจ้าบ่อพญาคำ ตั้งอยู่หมู่ 12 ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในพิธีช่วงเช้า ชาวบ้านทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ส่วนใหญ่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่จากทั้ง 4 หมู่บ้านจะเอาดอก ฝ้ายขาว เทียน (ทุกคนในครอบครัว คนละ 1 คู่หรือมากกว่านั้น) และเงิน (วันก๋ำปลา ขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะบริจาค แต่ถ้าเป็นวันก๋ำหมู ทุกคนในครอบครัวคนละ 1 บาท) ไปบอกกล่าวเจ้าบ่อที่บ้านพ่อหมอใหญ่ โดยผู้เข้าร่วมพิธีห้ามแต่งชุดสีแดงหรือแต่งกายที่มีสีฉูดฉาด ส่วนการประกอบพิธีกรรมที่ศาลเจ้าบ่อในช่วงค่ำ ผู้เข้าร่วมพิธีกรรมจะอนุญาตให้เฉพาะผู้ชายไทลื้อ ซึ่งเป็นลูกหลานในตระกูล “วงศ์ชัย” เท่านั้น และจะต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าทั้งชั้นในและชั้นนอกสีขาวหรือสีดำเท่านั้น
จับต้องได้ : Tangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
.
เลขที่ : หมู่ที่ 12 ต. ศรีดอนชัย อ. เชียงของ จ. เชียงราย 57140
นางแสงเดือน วงศ์ชัย
สถาบันศิลปวัฒนธรรมและอารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โทรศัพท์: 0-5391-7067 อีเมล:mekong-museum@mfu.ac.th
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : 2567 Open call