PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : KP-57240-00010

ร่อนทองคำแม่น้ำคำ
Gold Dredging in Mae Kham River

แม่น้ำคำเป็นสายน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ราบเชียงแสน ตามตำนานแม่น้ำคำที่พบในเอกสารตำนานหรือเรื่องเล่ามุขปาฐะต่างๆก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของสายน้ำเส้นนี้เช่น บางตำนานกล่าวว่าแม่น้ำคำไหลออกจากปากของสิงห์คำ(ตำนานสุวรรณะโคมคำ) หรือเรื่องเล่าที่ปรากฏภายในหมู่บ้านแม่คำสบเปินคือเรื่องขัวคำ ในสมัยอดีตระหว่างช่องเขาดอยผาม้าและดอยคอกม้ามีขัว (สะพาน) ทำจากทองคำข้ามระหว่างสองดอยนี้ ต่อมามีผู้ที่มีความโลภมากได้ทำการเลื่อยสะพานทองคำนี้เพื่อที่จะนำทองคำไปเป็นของตน ต่อมาเมื่อเลื่อยจนสะพานขาดออกจากกันสะพานกลับหดเข้าไปในเพิงผาของทั้งสองภูเขานั้นแทน จึงไม่ได้ทองคำกลับไปเพราะความโลภของตนเอง ในส่วนของผงขี้เลื่อยทองคำนั้นก็ได้ตกลงไปในแม่น้ำที่อยู่ด้านล่างปะปนไปกับกรวดทรายในแม่น้ำ จึงทำให้แม่น้ำนั้นเรียกว่าแม่น้ำคำ ในอดีตชาวแม่คำสบเปินเมื่อว่างจากการทำนาในช่วงฤดูแล้งก็จะพากันไป "ตาวคำ" หรือการร่อนทองคำในแม่น้ำคำ โดยจะมีท่าสำหรับการร่อนทองเรียกว่า "วังคำ" ซึ่งตามความเชื่อของชาวบ้านเชื่อกันว่าแถบวังคำคือสถานที่ที่ทองคำจากการเลื่อยขัวคำนั้นตกหล่นอยู่ในบริเวณแถบนี้ โดยในการตาวคำจะต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญคือ "หว่านคำ" มีลักษณะเป็นไม้ขุดรูปกรวยขนาดเท่าๆกับหมวกกุ๊บ หรือกุ๊บแบบชาวเวียดนาม ส้าหรือตระกร้า ในปัจจุบันไม่มีการร่อนทองปรากฏในลำน้ำแม่คำแล้วจึงเป็นภูมิปัญญาที่สูญหายไปแล้ว



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the .

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : บ้านแม่คำสบเปิน หมู่ 1 ต. แม่คำ อ. แม่จัน จ. เชียงราย 57240

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นายวาโย ด่านไทยวัฒนา

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :433 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 18/08/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 18/08/2022