(1) วิหารศิลปะล้านนาซึ่งสร้างขึ้นใหม่คล้ายรูปแบบเดิม (บูรณะมาแล้ว 2 ครั้ง) ซึ่งหลังเดิมถูกพายุพัดพังทลายเนื่องจากโครงสร้างชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา พระประธานองค์เดิมในวิหารเป็นปูนปั้นก็พังเสียหายไปพร้อมกับวิหารหลังเดิมที่ล้มพังทลายลง เนื่องจากสร้างโดยเจ้าหลวงเมืองพะเยาเมื่อครั้งฟื้นฟูเมืองพะเยา ปัจจุบันยังคงมีจิตรกรรมฝาผนัง พระเวสสันดรชาดก เก่าแก่ที่สุดในจังหวัด, หีบธรรมโบราณ อายุกว่า 100 ปี, สัตภัณฑ์เก่าแก่ตั้งอยู่หน้าฐานชุกชี (2) เจดีย์หินทรายแกะสลักศิลปะสุโขทัย แห่งเดียวในจังหวัด ปัจจุบันอยู่ติดกับท้ายวิหาร ก่อนบูรณะมีร่องรอยการเจาะเพื่อขโมยสมบัติภายใน เมื่อบูรณะได้นำพระพุทธรูปและอัฐิท่านพระครูอดีตเจ้าอาวาสของบรรจุไว้(3) เจดีย์ทรงล้านนา ได้รับการบูรณะใหม่ โดยบูรณะครั้งแรกในปี พ.ศ.2482 และในการบูรณะครั้งที่ 2 พบพระพุทรูปปางลีลาหินทรายแกะสลัก ซึ่งแต่เดิมสรงน้ำพระธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เหนือ เรียกว่า “ป๋าเวณีแปดเป็ง” แล้วก็สูญหายไป มารื้อฟื้นจัดขึ้นใหม่เป็นวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8 ประมาณ 10 ปี ให้หลัง หลังจากเจ้าอาวาสรูปเดิมมรณภาพ(4) วัดหลวงราชสัณฐานเป็นวัดพี่ เพราะครูบาไชยลังกา เดินทางมาจากวัดไหล่หิน ลำปาง มาบูรณะวัดหลวงราชสัณฐานเสร็จแล้วจึงไปบูรณะวัดไชยอาวาสต่อ จึงเรียกวัดไชยอาวาสว่า “วัดน้อง”(5) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารไทยจะมาพักอยู่ที่วัดหลวงราชสัณฐาณ(6) มีประติมากรรมหินทราย เช่น เศษพระพุทธรูปปางลีลา, ฐานเสาวิหารเดิม เป็นต้น(7) มีคัมภีร์ใบลานจำนวนมาก
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture ศาสนสถาน
.
เลขที่ : ชุมชุนวัดหลวงราชสัณฐาน ต. เวียง อ. เมืองพะเยา จ. พะเยา 56000
พระทวีศักดิ์ จันทวังโส
0813871462, amaiest@hotmail.com
ผศ.ดร.อัมเรศ เทพมา : มหาวิทยาลัยพะเยา : 2565 fast track