PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : AA-57240-00002

ธรรมมาสน์หลวง
Pulpit [Tham Mat Luang]

ธรรมมาสน์หลวงหรือธรรมาสน์เอก เป็นโบราณวัตถุคู่กับวัดแม่คำสบเปินมานับตั้งแต่สมัยอดีต ธรรมาสน์หลวงเป็นธรรมาสน์สำหรับแสดงพระธรรมเทศนาในสมัยอดีต ตามธรรมเนียมชาวล้านนามักจะสรา้งธรรมาสน์หลวงไว้ในวัด การแสดงธรรมบนธรรมมาสน์หลวงที่มีลักษณะที่สูง มีการปิดฝาสามด้าน หรือสองด้านเพื่อไม่ให้มองเห็นพระหรือสามเณรที่แสดงธรรมบนธรรมาสน์หลวง ทำให้เกิดเสียงที่ก้องและดังขึ้นมาเพราะในสมัยอดีตไม่มีเครื่องขยายเสียงดังเช่นในปัจจุบัน อีกอย่างหนึ่งทำให้เกิดศรัทธาสร้างเสียงที่เป็นทิพย์คือเสียงที่ออกมาโดยไม่สามารถมองเห็นองค์แสดงธรรมได้ เหมือนดังกับเสียงนั้นออกมาจากพระโอษฐ์ของพระประธานในวิหาร ธรรมมาสน์หลวงวัดแม่คำสบเปินสรา้งเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วโดยพ่อหนานเต๋จา ซึ่งเดิมพ่อหนานเต่จาเป็นชาวเชียงใหม่ ได้อพยพถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแม่คำสบเปิน และเป็นช่างเคี่ยน ช่างทำทองและเงินในอดีต และเป็นช่างแกะสลักและสรา้งวิหารในอดีตด้วย พ่อหนานเต่จาเป็นชาวเชียงใหม่ดังนั้นลักษณะองค์ประกอบของงานพุทธศิลป์ชิ้นนี้จึงมีลักษณะตามความนิยมของช่างเชียงใหม่ในสมัยนั้นคือคล้ายธรรมาสน์วัดดวงดี กลงเมืองเชียงใหม่ที่สร้างขึ้นด้วยพ่อสล่าน้อยหนิ้ว นายช่างเอกของเมืองเชียงใหม่ในยุคนั้น



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

โบราณวัตถุ : AA : Archeological Artefact .

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : บ้านแม่คำสบเปิน หมู่ 1 ต. แม่คำ อ. แม่จัน จ. เชียงราย 57240

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

พ่อหลวงปั๋น คำเงิน

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :547 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 18/08/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 18/08/2022