เป็นจารึกทำให้ทราบถึงสัดส่วนขององค์พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยงเมืองพะเยา ที่วัดศรีโคมคำซึ่งถูกสร้างโดยช่างล้านนาในต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งต่อมาเป็นต้นแบบสัดส่วนแก่ช่างฝีมือสร้างพระพุทธรูปทั้งหินทราย ปูนปั้น และโลหะในเมืองพะเยา ที่ในด้านที่ 1 ขึ้นต้นจารึกเป็นคำนมัสการแด่พระพุทธเจ้าด้วยภาษาบาลี ต่อจากนั้นได้กล่าวถึงศาสนาแห่งพระโคตมเจ้าล่วงพ้นไปแล้ว 2067 ปี ในด้านที่ 2 จารึกได้บ่งบอกถึงพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เรื่องที่ได้จากศิลาจารึกนี้ ที่น่าสังเกตก็คือ การใช้จุลศักราชและพุทธศักราชนั้นเป็นหลักฐานที่ตรงกับหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ดังที่ท่านผู้ชำระชี้แจงไว้ ส่วนพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในจารึกนี้ควรจะได้แก่พระเจ้าตนหลวง ที่วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา นั่นเอง เพราะทางภาคเหนือแล้วก็มีพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดเพียงองค์เดียวเท่านั้น ประกอบกับหลักฐานที่พบศิลาจารึกหลักนี้ก็รับรองอยู่แล้วว่า พบที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยาก็เคยเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงรายมาก่อน หากความเข้าใจดังนี้ไม่ผิด จารึกหลักนี้แต่เดิมก็ควรจะปักอยู่ที่วัดศรีโคมคำ หรือวัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นประวัติการก่อสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่รัชสมัยพระเมืองแก้ว ปีพุทธศักราช 2067 สันนิษฐานว่าเดิมตั้งอยู่ที่วัดศรีโคมคำ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณวัตถุ : AA : Archeological Artefact ประวัติศาสตร์
.
เลขที่ : วัดศรีโคมคำ 692 ถ. พหลโยธิน ตำบล เวียง อำเภอเมืองพะเยา พะเยา 56000 ต. เวียง อ. เมืองพะเยา จ. พะเยา 56000
สุธี เมฆบุญส่งลาภ
0813871462, amaiest@hotmail.com
สุธี เมฆบุญส่งลาภ : มหาวิทยาลัยพะเยา : 2565 fast track