สายคล้องคอจากเสลิก สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายรูปแบบจะเป็นกระเป๋า หรือกล้องถ่ายภาพก็ได้ ซึ่ง เสลิก “เสลิก” สำเลิก หรือ สำลึก เป็นภาษาเขมร มีความหมายตามตัวว่า “ใบ” เสลิกเป็นตีนซิ่นประเภทหนึ่งในวัฒนธรรมอีสานใต้ พบในกลุ่มชาติพันธุ์เขมร กูย และเยอ รวมไปถึงกลุ่มชาติพันธุ์ลาวบางกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจาก เขมร-กูย “เสลิก” มีลักษณะเป็นตีนซิ่นขนาดเล็ก กว้างประมาณ 4 - 8 เซนติเมตร ทอด้วยเทคนิคการยกมุก (Supplementary Warp Technique) คือ การทอที่มีการเพิ่มด้ายเส้นยืนพิเศษเข้าไปแล้วยกเป็นลวดลายคล้ายคลึงกับลายขิด โดยมีการใช้ลูกตุ้มหิน หรือลูกตุ้มดินเผาในการถ่วงน้ำหนักเพื่อ ยก หรือ ดึง สลับตะกอเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ แทนการเก็บลายของเทคนิคขิด เทคนิคการยกมุกนี้พบเห็นในหลากหลายวัฒนธรรม ซึ่งนับได้ว่าเป็นเทคนิคเก่าแก่ ในการสร้างสรรค์ลวดลายผ้า เทคนิคและวิธีการทอเสลิกวิธีการทอต่างๆ อาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชุมชน เทคนิคเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องสะท้อนภูมิปัญญาของบรรพชนชุมชนนั้นๆ ที่ได้สร้างสรรค์เทคนิคการทอผ้าขึ้นมาได้อย่างหลากหลาย ทำให้เสลิกในแต่ละท้องถิ่น มีความแตกต่างกัน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่นนั้นๆ
ช่องทางการจำหน่าย
เข้าชม : 34 ครั้ง